2007年7月14日土曜日
สารบัญ
เมื่อ พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้เวลาที่ประทับแรมอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พระมหาม่วงได้เข้าเฝ้าหลายครั้ง ทรงไต่ถามถึงการพระพุทธศาสนาในจังหวัดนี้ ท่านได้ชี้แจงเป็นที่ชอบพระอัธยาศัย ทรงเห็นว่าเป็นผู้ทรงธรรมวินัยอันน่าเลื่อมใสหลายประการ และทราบว่าเป็น สหชาติ จึงทรงตั้งให้เป็นพระราชาคณะ มีราชท�! �นนามว่า พระศิริธรรมมุนี
ใน พ.ศ. 2442 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เป็นผู้อำนวยการศึกษา เป็นเจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช ตลอดไปจนถึงปัตตานีด้วย ได้จัดตั้งคณะสงฆ์ การศึกษา และการศาสนา จึงเกิดผลสมพระราชประสงค์ ดังปรากฏในรายงานการศึกษา ร.ศ.119 ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 จำนวนโรงเรียนซึ่งท่านได้ตั้งทั้งหมด 21 แห่ง โดยโรงเรียนหลวงหลังแรกตั้งอยู่ที่วัดท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มี! ชื่อว่า "สุขุมาภิบาลวิทยา" ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับผู้อุปถัมภ์โรงเรียน คือ พระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม) สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราชในสมัยนั้น นับเป็นโรงเรียนหลวงแห่งแรกของจังหวัดนครศรีธรรมราช และ ภาคใต้
ในปีการศึกษา 2447 ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชก็เริ่มให้ความสนใจ ส่งบุตรหลานเข้าเรียนมากขึ้น พระศิริธรรมมุนี (ม่วง รัตนธโช) จึงได้สร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมขึ้นอีก 1 หลัง และได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนมาเป็น "ศรีธรรมราช" โดยประสงค์ให้เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช และโอนกิจการให้กรรมการการดำเนินการ การเรียนการสอนก็เปลี่ยนไปตามแบบกรมศึกษาธิการ ขยายเ�! �ลาเรียนออกเป็น 5 ปีตั้งแต่ชั้นมูลจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 4 และยังได้เปิดแผนกฝึกหัดครูขึ้นในโรงเรียนอีกด้วย
ด้านการเรียนการสอนเริ่มเปิดสอนในระดับประถมศึกษาก่อนแล้วจึงขยายชั้นเรียนถึงระดับมัธยมศึกษา ครั้นเมื่อจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นจึงย้ายแผนกประถมไปเรียน ณ วัดท่ามอญหรือวัดศรีทวีในปัจจุบัน นอกจากแผนกประถม และ มัธยมศึกษา ทางโรงเรียนยังเปิดสอนแผนกฝึกหัดครู ซึ่งเรียกในสมัยนั้นว่า โรงเรียนฝึกหัดครูมณฑล และมีโรงเรียนช่างถมอีกแผนกหนึ่งด้วย จึงเป็นเห! ตุให้สถานที่เรียนไม่พอ ทางโรงเรียนแก้ปัญหาโดยให้นักเรียนมัธยมปีที่ ๑ ไปเรียนที่วัดศรีทวี และวัดจันทาราม พ.ศ. ๒๔๖๘ แผนกฝึกหัดครูยกเลิกไป ส่วนโรงเรียนช่างถมแยกออกไปเป็น โรงเรียนศิลปหัตถกรรม หรือวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมในปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2456 พระธรรมโกษาจารย์ (ม่วง รัตนธโช) ได้สร้างตึกชั้นเดียวให้เป็นสถานที่เรียน ณ บริเวณกำแพงวัดท่าโพธิ์ทางด้านทิศใต้ และได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "เบญจมราชูทิศ" อันเป็นมงคลนามที่ได้รับพระราชทานจากพระบาลสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อันมีความหมายว่า "อุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่รัชกาลที่ 5" เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และอุทิศส่ว! นกุศลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ปี พ.ศ. 2476 ด้วยเหตุที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศซึ่งตั้งอยู่ในวัดท่าโพธิ์มีเนื้อที่คับแคบ ไม่อาจขยายเนื้อที่เพื่อสร้างอาคารใหม่เพิ่มเติมได้ จึงได้ย้ายไปปลูกสร้างยังบริเวณวัดพระสูง บนเนื้อที่ 8 ไร่และแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2479 ในปี พ.ศ. 2490 เปิดสอนระดับเตรียมอุดมศึกษา มีทั้งแผนกวิทยาศาสตร์ แผนกอักษรศาสตร์ แต่ในปี พ.ศ. 2504 ได้ย้ายแผนกอักษรศาสตร์ไปเรียนที่โรงเรี�! �นกัลยาณีศรีธรรมราช ปี พ.ศ. 2507 โรงเรียนเปิดรับสมัครนักเรียนชั้น ม.ศ.1 แทนการรับเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อย่างเดิม
ปี พ.ศ. 2514 โรงเรียนได้เข้าโครงการโรงเรียนมัธยมแบบประสมและได้จัดซื้อที่ดินบริเวณ หมู่ที่ 3 ตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้งบประมาณก่อสร้างประมาณ 30 ล้านบาท และได้ย้ายมาที่เรียนใหม่ในปี พ.ศ. 2519
ในปี พ.ศ. 2523 โรงเรียนได้จัดสร้างรูปหล่อพระรัตนธัชมุนี (ม่วง รัตนธโช) ผู้ให้กำเนิดโรงเรียน และอัญเชิญจากวิหารหลวงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นสถานที่หล่อมาประดิษฐานไว้ ณ ศาลาหน้าอาคาร 1
วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามบรมราชกุมารเสด็จแทนพระองค์ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปิดหอสมุดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ทำเนียบผู้บริหาร
กีฬาพรรคโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2590 อาจารย์โอบ ปักปิ่นเพชร อาจารย์ใหญ่ในขณะนั้น จัดเป็นกีฬาพรรค 4 พรรค คือ พรรคนาวิน พรรคฟ้าฟื้น พรรคเชิดชัย และพรรคศรเหล็ก
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2523 อาจารย์สมพงศ์ สงวนพงศ์ เป็นหัวหน้าหมวดกิจกรรมนักเรียน มีท่านอาจารย์สากล พรหมอักษรเป็นที่ปรึกษา และเนื่องจากปีการศึกษา 2523 มีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมการกีฬาและกิจกรรมอื่นๆ อย่างทั่วถึง จึงได้จัดให้มีการตั้งพรรคเพิ่มขึ้นอีก 2 พรรค มีการประกวดการตั้งชื่อพรรค ด้วยเหตุนี้จึงได้กำเนินพรรคสายฟ้า และ! พรรคจุฬาลักษณ์นับแต่นั้นมา
นักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศทุกคนมีพรรคสังกัด โดยนักเรียนอยู่พรรคเดียวกันทั้งห้องเรียน การสังกัดพรรคใช้การเลือกแบบการจับฉลาก กิจกรรมพรรคที่สำคัญคือ กีฬาพรรค นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จะเป็นผู้นำในการควบคุมรุ่นน้องในเรื่องการเชียร์กีฬา และ การแข่งขันกีฬา
ประวัติพรรค ก่อตั้งโดยอาจารย์เชาว์ สิงหผลิน เนื่องจากท่านเป็นคนชอบเรือ ชอบทะเล ชอบสีฟ้า เป็นชีวิตจิตใจ จึงก่อตั้งพรรคชื่อว่าพรรคนาวิน
สีประจำพรรค สีฟ้า
สัญลักษณ์ คลื่น เรือใบ อยู่ภายใต้เกือกม้า
ประวัติพรรค ก่อตั้งโดยอาจารย์แปลก ปานิตย์เศรษฐ์ ตั้งชื่อพรรคขึ้นตาบดาบของขุนแผน ซึ่งเชื่อว่า เมื่อชักออกมาจากฝักเมื่อไร ฟ้าจะถล่มทันที
สีประจำพรรค สีแดง หมายถึง ความเข้มข้นแห่งเลือด
สัญลักษณ์ ดาบไทยวางพาดบนโล่หน้าสิงห์
ประวัติพรรค ก่อตั้งโดยอาจาย์ชำนาญ เวทย์วรพันธ์ และอาจารย์ช่วง เพชรานนท์ เชิดชัยหมายถึง ผู้กำชัยเสมอ
สีประจำพรรค สีเขียว
สัญลักษณ์ มือจับคบเพลิง เปลวไฟปลิวมาข้างหลัง
ประวัติพรรค ก่อตั้งโดยอาจารย์จำรัส เรืองรอง และอาจารย์พินิต นุ่นพันธ์ ศรเหล็กหมายถึง ความแข็งแกร่งทนทาน
สีประจำพรรค สีเหลือง
สัญลักษณ์ รูปกงจักรพระนารายณ์ 8 แฉก มีศรเหล็ก 2 อันไขว้กัน
ประวัติพรรค อาจารย์ประกอบ นาควานิช และนักเรียนอีกหนึ่งคน เป็นผู้ตั้งชื่อตรงกันจากการประกวดตั้งชื่อพรรคใหม่ สายฟ้า หมายถึง ความรวดเร็วทันใจ
สีประจำพรรค สีม่วง
สัญลักษณ์ รูปตรีศูล มีสายฟ้าฟาดหรือตราวชิราวุธ เพื่อเทิดพระเกียรติรัชกาลที่ 6
ประวัติพรรค ผู้ที่ได้รับการพิจารณาในการตั้งชื่อว่าเป็นเลิศแห่งนาม ซึ่งจะเป็นพรรคกีฬาของลูกขาว-แดง คือ อาจารย์ตุลา ยุทธชัย จุฬาลักษณ์หมายถึงลักษณะที่เลอเลิศ หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึงที่สูงสุดของศีรษะ เช่น ยอด หัว มงกุฎ (จุฑา ก็ใช้) กล่าวโดยรวมคือ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติรัชกาลที่ 5
สีประจำพรรค สีชมพู (เป็นสีประจำวันอังคาร ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 5)
สัญลักษณ์ พระเกี้ยว (มงกุฎน้อย จุลจอมเกล้า)
พรรคนาวิน
พรรคฟ้าฟื้น
พรรคเชิดชัย
พรรคศรเหล็ก
พรรคสายฟ้า
พรรคจุฬาลักษณ์
登録:
コメントの投稿 (Atom)
0 件のコメント:
コメントを投稿