2007年8月20日月曜日

รถไฟฟ้ามหานคร
รถไฟฟ้ามหานคร หรือที่ชาวกรุงเทพฯ นิยมเรียกว่า รถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนใต้ดินในกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดยได้รับสัมปทานจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รถไฟฟ้ามหานครนั้นเป็นระบบซึ่งดำเนินการแยกต่างหากจากระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (รถไฟฟ้าบีทีเอส)
เส้นทางสายแรกซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่ารถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือรู้จักกันในชื่อไม่เป็นทางการว่ารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) หลังจากที่เกิดความล่าช้าขึ้นหลายครั้ง ในที่สุดได้มีการเปิดให้สาธารณชนทดลองใช้งานในวงจำกัดเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ปัจจุบันมีเส้นทางรวมระยะทาง 21 กิโลเมตร วิ่งจากสถานีบางซื่อถึง สถานีหัวลำโพง ผ่านสถานีรวม 18 สถานี และมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีสีลม/ศาลาแดง สุขุมวิท/อโศก และสวนจตุจักร/หมอชิต เส้นทางสายสีน้ำเงินนี้สามารถรองรับผู้ใช้บริการได้ 80,000 คนต่อทิศทางต่อชั่วโมง เส้นทางนี้ยังมีโครงการที่จะขยายเส้นทางออกทางทิศเหนือไปยังถนนจรัญสนิทวงศ์และท่าพระ และออกทางทิศใต้ไปยังบางแค ซึ่งจะสามารถเชื่อมต่อกันเป็นเส้นทางวงแหวนในอนาคต
สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินทุกสถานีจะยกพื้นทางเข้าออกสูงจากระดับพื้นดิน เพื่อหลีกเลี่ยงน้ำ ที่อาจเข้าไปท่วมระบบหากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในอนาคต

รายชื่อสถานี

โครงสร้างทางวิ่ง :อุโมงค์คู่วางตามแนวราบ และตามแนวดิ่ง เส้นผ่าศูนย์การภายในอุโมงค์ 5.7 เมตรความลึกของอุโมงค์ 15-25 เมตร ทางเดินฉุกเฉินกว้าง 60 เมตร สูง 2.0 เมตร สถานี 18 สถานี มีทั้งแบบชานชาลากลางและ ชานชาลาด้านข้างประมาณ 150 เมตร กว้าง 22-23 เมตร (สถานีมาตรฐาน) มีประตูกันคนตก (Screen Door)
ระบบราง:รางคู่ขนาดมาตรฐาน (Standard Guage) กว้าง 1,435 มิลลิเมตร ใช้รางที่ 3วางขนานกันไปกับรางวิ่ง สำหรับจ่ายไฟฟ้าให้ตัวรถ
ระบบรถ :รถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (heave rail)ใช้ล้อเหล็กวิ่งบนรางเหล็ก เป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.2 เมตร ยาว 19.23 เมตร สูงประมาณ 3.8 เมตร ความจุ 320 คน/ คัน วิ่ง 3-6 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้า 750 โวลท์ กระแสตรงป้อนระบบขับเคลื่อนรถใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับขับเคลื่อนตัวรถควบคุมการเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุม ความเร็ว สูงสุด 80 กม./ซม.
ระบบเก็บค่าโดยสาร:ใช้ระบบเก็บและตรวจตั๋วอัตโนมัติ และสามารถใช้ตั๋วร่วมกับระบบอื่นได้ค่าโดยสารเก็บตามระยะทางอัตราค่าโดยสาร 12 บาท +2 บาท/ สถานี แต่ไม่เกิน 36 บาท (ราคาปี 2545)
การให้บริการความถี่:ชั่วโมงเร่งด้าน 2-4 นาที /ขบวน ชั่วโมงปกติ 4-6 นาที / ขบวน ให้บริการ 6.00-24.00 น. ความเร็วในการเดินทางเฉลี่ย 35 กม./ซม. ให้บริการได้มากกว่า 40,000 คน / ชั่วโมง /ทิศทาง
สิ่งอำนวยความสะดวก:ลิฟท์ บันไดเลื่อน ห้องน้ำร้านค้าย้อย สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ
ที่จอดรถสำหรับผู้โดยสาร:1 แห่งที่ลาดพร้าว รายละเอียดปลีกย่อย
จะเริ่มต้นที่จุดปลายโครงการรถไฟฟ้ามหานครระยะแรกฯ ที่บริเวณบางซื่อ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านถนนจรัญสนิทวงศ์ จนไปเชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางแค ที่ สี่แยกท่าพระ รวมระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร
จะเริ่มต้นที่จุดปลายโครงการรถไฟฟ้ามหานคร ระยะแรกๆ ที่บริเวณหัวลำโพง ผ่านเยาวราช เฉลิมกรุง วังสราญรมย์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณปากคลองตลาด ไปยังท่าพระ จากนั้นจะวิ่งไปตามถนนเพชรเกษม ผ่านตลาดบางแค และสิ้นสุดที่บริเวณถนนวงแหวนรอบนอก รวมระยะทางประมาณ 13.8 กิโลเมตร โดยช่วงจากหัวลำโพงถึงท่าพระ ระยะทางประมาณ 4.9 กิโลเมตร จะเป็นทางวิ่งใต้ดิน ส่วนที่เหลือเป็นทางวิ่งยกระดับรถไฟฟ้าสายนี้มีสถานีรวม 10 สถานี และมีที่จอดรถสำหรับผู้โดยสาร 1 แห่งที่บริเวณถนนวงแหวนรอบนอก

โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค

0 件のコメント: