2007年6月1日金曜日

พระราชภาวนาวิสุทธิ์

เนื่องจากบทความนี้ถูกก่อกวนหลายครั้งติดต่อกัน การแก้ไขจากผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียน หรือผู้ใช้ใหม่ไม่สามารถทำได้ขณะนี้
คุณสามารถแสดงความเห็น เสนอข้อความ หรือขอให้ยกเลิกการป้องกันได้ในหน้าอภิปราย หรือลงทะเบียนโดยสร้างชื่อผู้ใช้

พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธัมมชโย) เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และประธานมูลนิธิธรรมกาย เกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2487 ณ คุ้งน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลบ้านแป้ง อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี โดยมีโยมบิดาชื่อ จรรยง โยมมารดาชื่อ จุรี สุทธิผล

ขณะที่เรียนอยู่ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้มีโอกาสฟังการบรรยายธรรมจากวิทยากรท่านต่างๆ จนเกิดแรงบันดาลใจร่วมกับเพื่อนๆ ตั้งชุมนุมยุวพุทธขึ้น
พ.ศ. 2506 ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ ม. 6 กำลังเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย มีโอกาสได้ศึกษาการปฏิบัติธรรมกับ แม่ชีอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ณ วัดปากน้ำภาษีเจริญ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
เมื่อเรียนจบปริญญาตรีสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แล้ว ได้บรรพชาอุปสมบทอุทิศชีวิตเป็นพุทธบูชา (อธิษฐานจิตขอบวชตลอดชีวิต) ด้วยมโนปณิธานที่จะเผยแผ่พระพุทธสาสนาไปทั่วโลก เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2512 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 ณ พัทธสีมาวัดปากน้ำภาษีเจริญ โดยมีพระเทพวรเวที (ปัจจุบันคือสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปาก�! �้ำ เขตภาษีเจริญ) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีฉายาว่า "ธัมมชโย" แปลว่า "ผู้ชนะโดยธรรม"
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 พระธัมมชโยและหมู่คณะรวมทั้งผู้มีจิตศรัทธาได้ช่วยกันพัฒนาผืนนา 196 ไร่ให้กลายเป็นสำนักสงฆ์ตามระเบียบการสร้างวัด ให้ชื่อว่า "ศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม" เมื่อวันมาฆบูชา โดยมีเป้าหมายในการสร้างวัดไว้คือ "สร้างวัดให้เป็นวัด สร้างพระให้เป็นพระ สร้างคนให้เป็นคนดี"
เมื่อเวลาผ่านไปได้เปลี่ยนชื่อ "ศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม" เป็น "วัดพระธรรมกาย" เมื่อ พ.ศ. 2524 ต่อมาได้ขยายงานการเผยแผ่ออกไปยังต่างประเทศแห่งแรกขึ้นที่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2535 ปัจจุบันมีศูนย์สาขาในทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา โอเชียเนีย และทวีปเอเชีย รวมทั้งศูนย์ปฏิบัติธรรมในไทยกว่า 100 แห่ง
พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้ส่งเสริมบทบาทของพระพุทธศาสนาให้กว้างขวางเป็นที่ยอมรับกันในระดับโลก โดยได้จัดตั้งมูลนิธิธรรมกาย ต่อมาได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกในปี พ.ศ. 2529 เข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2529 และเข้าเป็นสมาชิกขององค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกในปี พ.ศ. 2533 เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับองค์กรต่างๆ ทั่�! �โลก
เพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างเป็นระบบ พระราชภานาวิสุทธิ์จึงให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยธรรมกายแคลิฟอร์เนีย (Dhammakaya Open University) ขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำการสอนพระพุทธศาสนาแก่นักศึกษาทั่วโลก ด้วยระบบทางไกล ในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท มีทั้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
นอกจากนี้พระราชภาวนาวิสุทธิ์ยังดำริให้ทำพระไตรปิฎกคอมพิวเตอร์ขึ้นตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2527 สำเร็จสมบูรณ์ออกเผยแพร่ไปทั่วโลกในปี พ.ศ. 2539
ในปี พ.ศ. 2549 ได้เกิดอุทกภัยขึ้นในหลายจังหวัดทางภาคกลางของไทยเป็นเวลานานหลายเดือน พระราชภาวนาวิสุทธิ์ จึงได้มอบหมายให้มูลนิธิธรรมกาย จัดเครื่องอุปโภคบริโภคไปช่วยเหลือตามวัดและชุมชนต่างๆ ในทุกจังหวัดที่ประสบภัยอย่างทั่วถึง เป็นเวลานานตลอดหลายเดือนจนกระทั่งน้ำลดลงสู่ภาวะปกติ นอกจากนี้เมื่อเกิดภัยหนาวขึ้นในหลายจังหวัด พระราชภาวนาวิสุทธิ์ก็ไ�! ��้ส่งผู้แทนไปมอบเครื่องกันหนาวแก่ประชาชนในท้องที่ต่างๆ เช่นกัน

ทุกๆ วัน ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันเสาร์ 19.30 น.-22.00 น. พระราชภาวนาวิสุทธิ์ทำการลงเทศน์สอนธรรมะผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและระบบโทรทัศน์เพื่อการศึกษาผ่านดาวเทียม ช่องดีเอ็มซี เป็นประจำ ในรายการสด ชื่อ รายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา โดยเนื้อหาการเทศน์สอนครอบคลุมกรณีศึกษาเรื่อง กฎแห่งกรรม (Case Study) ที่มีการประยุกต์นำภาพและเพลงมาประกอบการเทศน์สอน เพื่อทำให้ผู! ้ชมทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เข้าใจเรื่องราวได้ง่าย สนุกสนาน ชวนให้ติดตาม นอกจากนี้ท่านยังดำริให้ ช่องดีเอ็มซีทำรายการเผยแผ่การศึกษาพระพุทธศาสนาตลอด 24 ชั่วโมง ถ่ายทอดผ่านดาวเทียม 7 ดวง ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วโลก มีการแปลเป็นภาษาต่างๆ อาทิเช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาลาว ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ภาษาญี่ปุ่น และภาษาเขมร เป็นต้น โดยมีกลุ่มสาธุชนท�! �่วโลกฟังธรรมจากท่านจำนว นมาก ตั้งแต่เด็กอายุประมาณ 1 ปี จนถึงผู้สูงอายุวัย 106 ปี จากผลการศึกษาและวิจัยพบว่า รายการโทรทัศน์ดังกล่าวส่งผลให้เกิดสิ่งดีๆขึ้นหลายอย่าง เช่น ทำให้มีการตื่นตัวศึกษาหาความรู้ในเรื่องกฎแห่งกรรม เรื่องบาปบุญคุณโทษ เรื่องความจริงของชีวิต เช่น เกิดมาทำไม ตายแล้วไปไหน โลกหน้ามีจริงหรือไม่ ฯลฯ ซึ่งผู้ศึกษาได้นำความรู้ที่ได้รับจากรายการไปใช้เป็นแน�! ��ทางในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องต่อไป

วัดพระธรรมกาย เป็นวัดที่ได้รับการกล่าวถึงมากในอันดับต้นๆวัดหนึ่งของประเทศ เพราะในช่วงปีพ.ศ.๒๕๔๑-๒๕๔๓ ได้เกิดกรณีวิพากษ์จากบุคคลและสื่อมวลชนมากมายติดต่อกันทุกวันเป็นเวลาหลายปี ซึ่งได้มีผู้วิเคราะห์ว่า เพราะความเอาใจใส่ ทุ่มเท ในการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ของพระราชภาวนาวิสุทธิ์และหมู่คณะทีมงาน จึงทำให้วัดพระธรรมกายม�! �ผลงานการเผยแผ่อย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ เป็นที่ประจักษ์และยอมรับทั้งภายในและต่างประเทศ และเพราะการเติบโตอย่างก้าวกระโดดจึงเป็นเหตุให้มีผู้ไม่หวังดีกระทำการโจมตี และใส่ความวัดพระธรรมกาย ตลอดถึงพระราชภาวนาวิสุทธิ์ และทีมงานในข้อหาต่างๆมากมายเป็นเวลาหลายปี แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป โดยผ่านขั้นตอนกระบวนการพิจารณาในชั้นศาล ที่ตัดสินคดีใ! ห้สื่อมวลหลายแห่งซึ่งเค� ��เขียนข่าวโจมตีวัด มีความผิดในคดีอาญาต่อข้อหากระทำการใส่ความพระราชภาวนาวิสุทธิ์ และมีผลให้สื่อมวลชนเหล่านั้นต้องลงประกาศตีพิมพ์ขอขมา[1] และชี้แจงความจริงให้สาธารณชนได้รับทราบ
ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๔๙ คดีของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้รับการพิจารณาให้ถอนคดีทั้งหมดออกจากสาระบบ โดยสำนักงานอัยการสูงสุดให้เหตุผลว่า เพื่อเป็นการสร้างความสมานฉันท์และเนื่องจากพระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้นำเงินและที่ดินทั้งหมดมามอบให้แก่วัดพระธรรมกายแล้ว เป็นจำนวนเงินรวมมูลค่า 959,300,000 บาท( ทรัพย์สินทั้งหมดนี้ ท่านได้มาจากการถวายของคณะญาติโยมที่มุ่งถวายเป! ็นการส่วนตัวแก่พระราชภาวนาวิสุทธิ์ แต่ท่านก็นำมาถวายในพระพุทธศาสนาจนหมดเช่นกัน)
แม้ต่อมาในส่วนของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งถืออันเป็นองค์กรของรัฐและมีหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา ได้มีการประกาศรับรองความบริสุทธิ์ของพระราชภาวนาวิสุทธิ์และวัดพระธรรมกายว่าพ้นมลทิลทั้งคดีทางโลกและทางธรรมไปแล้ว แต่ก็ยังมีบุคคลบางกลุ่มพยายามสร้างกระแสให้เกิดความสับสนขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกระทำการกล่าวหาแบบเลื่อนลอย�! ��่อพระราชภาวนาวิสุทธิ์อีกว่า ยังมีพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ยังคงสงสัยในคำประกาศดังกล่าวว่า การที่มหาเถรสมาคมได้ส่งผู้แทนมาถวายคืนตำแหน่งเจ้าอาวาสให้แก่พระราชภาวนาวิสุทธิ์นั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งในความเป็นจริงบุคคลเหล่านี้กลับเป็นเพียงกลุ่มคนจำนวนน้อยและมีอคติต่อพระราชภาวนาวิสุทธิ์อยู่แล้วนั่นเอง
โดยกลุ่มบุคคลเหล่านี้พยายามอ้างว่า "เพราะตามพระลิขิตของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกที่ทรงไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ระบุไว้ชัดเจนว่า พระราชภาวนาวิสุทธิ์มีพฤติกรรมยักยอกของสงฆ์ราคาเกิน 5 มาสกเป็นของส่วนตน เป็นผลให้พระราชภาวนาวิสุทธิ์ต้องอาบัติ ปาราชิก ขาดจากความเป็นพระไปในทันที" ซึ่งในข้ออ้างที่กล่าวมานี้ถือว่าเป็นข้อกล่าวอ�! ��างที่เลื่อนลอย เพราะจากพยานหลักฐานทางเอกสารและพยานบุคคล กลับพบว่าพระลิขิตนั้นไม่ได้ระบุชื่อของพระราชภาวนาวิสุทธิ์แต่อย่างเลย ที่สำคัญเอกสารที่ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นพระลิขิตก็ไม่เคยถูกส่งไปยังพระราชภาวนาวิสุทธิ์เลย อีกทั้งต่อมากลับพบว่าพระลิขิตเหล่านั้นได้กระทำขึ้นมาโดยกลุ่มบุคคลในห้องกระจกนั่นเอง ซึ่งจากวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญในการต! รวจสอบเอกสารพบว่าเป็นพร� ��ลิขิตปลอมที่ทำขึ้นโดยกลุ่มห้องกระจกทั้งหมด และการวิเคราห์นี้ได้ผลสอดคล้องกับข้อมุลที่มีบุคคลได้แจ้งความดำเนินคดีกับบุคลลหลายคนที่ได้แอบอ้างทำพระลิขิตปลอมขึ้นมา[2] แม้กลุ่มห้องกระจกและขบวนการทำลายชื่อเสียงพยายามสร้างกระแสผ่านสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี และผ่านขั้นตอนการไต่สวนของศาลชั้นต้นเป็นเวลานานหลายปี ซึ่งเป็นเรื่องแปล�! �ที่เมื่อถึงเวลาสืบพยานฝ่ายที่กล่าวหากลับหลบเลี่ยงและให้การโดยอ้างพยานหลักฐานแบบเลื่อนลอยตลอด
แม้ว่าสำนักงานอัยการสูงสุดจะถอนคดีออกจากระบบในปีพ.ศ. ๒๕๔๙ แต่ก็ยังปรากฏมีบุคคลบางกลุ่มพยายามที่จะสร้างกระแสโจมตีต่อไป โดยมักจะกล่าวอ้างว่า "พระราชภาวนาวิสุทธิ์และพวกยักยอกทรัพย์และเงินบริจาคของวัดพระธรรมกาย จำนวน 6.8 ล้านบาท ไปซื้อที่ดินเขาพนมพา ต.หนองพระ อ.วังทรายมูล จ.พิจิตร แล้วโอนกรรมสิทธิ์ใส่ชื่อนายถาวร จำเลยที่ 2 และเงินจำนวน 29,877,000 บาท ไปซื้อ! ที่ดินเนื้อที่ 902 ไร่เศษ ต.หนองพระ อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร และ ต.ท่าข้าม อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ แล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 2 ซึ่งจากข้อมูลที่แท้จริงปรากฏว่า เงินที่พระราชภาวนาวิสุทธิ์นำไปซื้อที่ดินนั้นเป็นเงินส่วนตัวของพระราชภาวนาวิสุทธิ์เอง ซึ่งเมื่อท่านได้ที่ดินมาก็มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบคือนายถาวร นำไปปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ต่อไป และที่�! �ำคัญที่ดินต่างๆที่ท่านซ ื้อมาก็ด้วยตั้งใจจะพัฒนาพื้นที่ต่างๆเหล่านั้นให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและใช้ในกิจการของพระพุทธศาสนาในอนาคตทั้งสิ้น ดังนั้นข้อกล่าวหาต่างๆดังกล่าวจึงเป็นกล่าวได้ว่าข้อมูลเท็จ ที่มุ่งหวังทำลายชื่อเสียงของพระราชภาวนาวิสุทธิ์นั่นเอง

ส่วนประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ
พระภิกษุ สามารถมีที่ดินส่วนตัวได้หรือไม่?
อันที่จริงแล้ว พระภิกษุมีที่ดินของตนเองได้ หากจะซื้อด้วยเงินทองของตนเอง โดยเงินของพระภิกษุ ที่ได้รับจากการถวายชนิดหนึ่ง คือ
การถวายปาฏิปุคคลิกทาน คือ ถวายส่วนตัวแก่พระภิกษุ ซึ่งผู้มีจิตศรัทธาต้องการ ซึ่งพระภิกษุนั้น เงินในส่วนนี้ ก็สามารถนำไปซื้อที่ดินได้ หรือรถ บ้าน ทรัพย์สินอย่างอื่นก็ได้ โดยมีกฎหมายรับรองสิทธิของพระภิกษุไว้เสียด้วย จัดเป็นทรัพย์สินของพระภิกษุ ไม่เป็นความผิดใด ๆ และไม่ถือว่า เป็นธรณีสงฆ์ ตามที่ข่าว หรือ สื่อต่างๆ แม้กระทั่ง รมว.ศึกษาธิการฯ หรือก�! ��รมาธิการการศาสนา พูดอีกด้วย เพราะในประมวลกฎหมายแพ่ง และพานิชย์
มาตรา 1623 "ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาระหว่างที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้น ถึงแก่มรณภาพ ให้ตกเป็นสมบัติของวัด ที่เป็น ภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้น จะได้จำหน่ายไปในระหว่างชีวิต หรือโดยพินัยกรรม
ไม่เพียงเท่านั้น ทรัพย์สินดังกล่าว ยังสามารถตกทอดเป็นมรดกของ บุตร ทายาท หรือ ผู้ที่พระภิกษุนั้น ระบุในพินัยกรรมได้อีกด้วย จะขาย ก็ยังได้ ตามกฎหมายแพ่ง
มาตรา 1624 "ทรัพย์สินใดที่เป็นของบุคคล ก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ทรัพย์สินนั้น หาตกเป็นสนบัติของวัดไม่ และให้เป็นมรดก ตกทอด แก่ทายาท โดยธรรมของผู้นั้น หรือบุคคลนั้น จะจำหน่ายโดยประการใด ตามกฎหมายก็ได้"
ดังนั้น เมื่อมีกระแสกล่าวว่า เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย มีความผิด ที่ซื้อที่ดิน ฯลฯ ส่วนตัว ไม่โอนเข้าเป็นสมบัติของวัด มีความผิด ตาม กฎหมาย จึงเป็นการโฆษณาข้อความอันเป็นเท็จ เข้าข่ายหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา หมวด 3
มาตรา 126 "ผู้ใดใส่ความผู้อื่น ต่อบุคคลที่สาม ที่น่าจะทำให้ผู้นั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้น กระทำความผิดฐาน หมิ่นประมาท ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ"[3]
ประเด็นที่ว่า ขัดต่อพระธรรมวินัย
มีหลายๆท่านที่มุ่งกล่าวหาโจมตีพระราชภาวนาวิสุทธิ์ มักจะชอบมั่วแอบอ้างเอาพระลิขิตขึ้นมานั้น เนื้อความในเอกสารที่อ้างว่าเป็นพระลิขิตที่ว่า "ไม่ยอมคืนสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระให้แก่วัด ก็แสดงชัดแจ้งว่า ต้องอาบัติ ปาราชิก ต้องพ้นจากความเป็นสมณะ โดยอัตโนมัติ ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด" นั้น ขัดต่อพระธรรมวินัย ซึ่งพระพุทธเจ้า ไม่เคยบ�! �ญญัติไว้เลยว่า พระภิกษุต้องยกสมบัติที่เกิดขึ้น ในขณะเป็นพระ ให้แก่วัด ใครไม่ทำต้องอาบัติปาราชิก เรื่องนี้มีเขียนอยู่ในหลักสูตร นักธรรมชั้นตรี ที่พระ บวชใหม่พรรษา ๑ ก็ต้องเรียนและรู้แล้ว จึงเป็นไปไม่ได้ที่ สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งทรงภูมิความรู้อย่างยิ่ง จะเขียนออกมาเช่นนี้ มั่นใจว่า ผู้เขียน จะต้องไม่ใช่พระ น่าจะเป็นเพียงผู้รู้พระธรรมวินัยแบบง! ูๆ ปลาๆ จับแพะชนแกะเขียน� �ึ้นมา ปลอมเป็นของสมเด็จพระสังฆราชแน่นอน พระสังฆราช จะไปบิดเบือนพระไตรปิฎก เป็นกบฎต่อพระพุทธเจ้าได้อย่างไร[4]
ในการดำเนินงานในโครงการต่างๆของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ หลายๆงานก็ต้องอาศัยทีมงานในการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ทางพระพุทธศาสนา และหลายๆครั้งเพื่อความคล่องตัวและสะดวกก็จำเป็นต้องอาศัยทีมงานแทนพระราชภาวนาวิสุทธิ์ในการจัดซื้อหรือดำเนินกิจกรรมต่างๆบนที่ดินในบางแปลง โดยการดำเนินการต่างๆเพื่อประโยชน์และความก้าวหน้าแก่พระพุทธศาสนา ทางพระราชภาว�! ��าวิสุทธิ์และทีมงานก็ได้ระมัดระวังและคำนึงถึงความถูกต้องแห่งกฎหมายและพระธรรมวินัยอย่างเคร่งคัดเสมอมา
พระราชภาวนาวิสุทธิ์เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายยังคงความเป็นพระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์สมบูรณ์ถูกต้องตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม และกฎหมายไทยทุกประการ อีกทั้งยังได้รับการยอมรับนับถือจากคณะสงฆ์ในประเทศไทย และในประเทศต่างๆทั้งนิกายเถรวาท มหายาน และวัชรยาน โดยล่าสุดในปีพ.ศ. ๒๕๔๙ องค์กรยุวพุทธสงฆ์โลก[5] หรือ WBSY (World Buddhist Sangha Youth) ซึ่งถือเป็นองค์การทางพระพุทธศาสนาใ�! �ระดับสากล ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ถวาย"รางวัลสันติภาพระดับจักรวาล" หรือ "Universal Peace Award" แด่พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ทั้งนี้ย่อมเป็นการยืนยันความเป็นพระแท้ผู้บริสุทธิ์และพระสงฆ์ผู้ทำคุณประโยชน์แก่ชาวพุทธ ชาวโลกอย่างมากมายของพระราชภาวนาวิสุทธิ์นั่นเอง

5 ธันวาคม พ.ศ. 2534 : หลวงพ่อธัมมชโยได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระสุธรรมยานเถร
5 ธันวาคม พ.ศ. 2537 : ได้รับการถวายปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
5 ธันวาคม พ.ศ. 2539 : พระสุธรรมยานเถร ได้รับพระราชทานพัดยศเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระราชภาวนาวิสุทธิ์
31 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 : องค์การอนามัยโลก ได้มอบถวายรางวัลงดบุหรี่โลก World No Tobacco Day Awards 2004ประจำปีพุทธศักราช 2547 แด่พระราชภาวนาวิสุทธิ์ จากผลงานการรณรงค์ให้เยาวชนและประชาชนเลิกสุราและบุหรี่
23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 : วุฒิสภา ถวายโล่เกียรติคุณแด่พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) ในวันมาฆบูชา พุทธศักราช 2548 ท่ามกลางมหาสมาคมแห่งพุทธบริษัทสี่นับแสนคน ณ ลานมหาธรรมกายเจดีย์ สืบเนื่องจากพิธีไว้อาลัยแด่ผู้เสียชีวิตจากคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อเดือนธันวาคม 2547 ซึ่งวุฒิสภาและมูลนิธิธรรมกาย ร่วมกันจัดขึ้น ณ จ.ภูเก็ต และ จ.พังงา
22 เมษายน พ.ศ. 2548 : Mr. S.P. Varma เลขาธิการสมาคม Akhil Bharat Rachanatmak Samaj (All Indian Gandhian Worker Society หรือ ABRS) ได้มาถวายรางวัล "มหาตมคานธีเพื่อสันติภาพ (Mahatama Gandhi Peace Award)" สำหรับความทุ่มเทแรงกายแรงใจในการส่งเสริมสันติภาพ และการพัฒนาเยาวชน ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา
2-5 ธันวาคม พ.ศ. 2549 : การประชุมขององค์กรยุวสงฆ์โลก WBSY " มอบรางวัลผู้นำชาวพุทธ ที่มีผลงานการเผยแผ่พระพุทธศาสนาดีเด่นในระดับโลกหรือUniversal Peace Award ซึ่งเป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเพียงรางวัลเดียวเท่านั้น เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสที่พระพุทธศาสนาย่างเข้าสู่ปีพุทธศักราชที่ 2550 ผู้นำชาวพุทธจากประเทศต่างๆ มีความเห็นพ้องต้องกันว่า รางวัลอันทรงเกียรตินี้ ควรม�! ��บถวายแด่ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ หรือ หลวงพ่อธัมมชโย ประธานมูลนิธิธรรมกาย แห่งประเทศไทย ซึ่งมีผลงานการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจนเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวพุทธทั่วโลกเป็นเวลานานกว่า 30 ปี และในโอกาสเดียวกันนี้ องค์กรยุวสงฆ์โลกได้มอบรางวัลพระธรรมทูตดีเด่นระดับโลก หรือ World Dhammaduta Award ถวายแด่ พระภาวนาวิริยคุณ หรือ หลวงพ่อทัตตชีโว วัดพระธรรมกาย ประเทศไทย




บุคคลสำคัญของไทย
การถวยรางวัลมหาตมะคานธีเพื่อสันติภาพ
ผลงานพระราชภาวนาวิสุทธิ์

0 件のコメント: